วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรแก้พิษงู

"สมุนไพรใช้รักษาพิษงู"

สมุนไพร-กระดูกไก่ขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Justicia gendarussa
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวงศ์ : ACAANTHACEAE
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : กระดูกไก่ขาว กระดูกขาว  (ภาคกลาง) ปีกไก่ขาว (อีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้น : สมุนไพรกระดูกไก่ขาวเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นเป็นพุ่ม ขนาดย่อม ลำต้นสูงประมาณ 3-4 ฟุตโตประมาณเท่านิ้วหัวแม่มือ ลำต้นและใบมีสีเขียว
ใบ : กระดูกไก่ขาวมีลักษณะปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบเล็ก ส่วนกลางใบกว้าง ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบดกออกเป็นพุ่ม
ดอก : กระดูกไก่ขาวออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว
การขยายพันธุ์ : สมุนไพรกระดูกไก่ขาว เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบสด
สรรพคุณของสมุนไพร :
ใบ นำใบสดของกระดูกไก่ขาวมาตำให้ละเอียด ผสมเหล้าและบีบเอาน้ำดื่ม อาจใช้กากพอกแผล อาจนำมาเป็นสมุนไพรใช้รักษาพิษงูหรือแมลงกัดต่อย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dargea volubilis Benth.ex Hook.
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ผักฮ้วนหมู เครือเขาหมู(ภาคเหนือ); กระทุงหมาบ้า คันชุน สุนัขบ้า(ภาคกลาง); มวนหูกวาง(เพชรบุรี); เถาวัน(ปักษ์ใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้น : สมุนไพรกระทุงหมาบ้าเป็นพรรณไม้เลื้อย มีลำต้นเป็นเถากลม เนื้อแข็ง เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นเถาพาดพันตามต้นไม้ใหญ่
ใบ : ใบกระทุงหมาบ้าเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบยาวเรียวโคนใบมน หรือเว้าขนาดของใบกวางประมาณ 1.5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5-4.5 นิ้วเนื้อผิวใบค่อนข้างหนาหลังใบมีสีเขียวเข้ม ใต้ท้องใบมีสีเขียวอ่อนกว่าก้านใบยาว 1.5-2.5 นิ้ว
ดอก : กระทุงหมาบ้าออกดอกเป็นช่อตามบริเสณง่ามใบ ลักษณะของดอกเป็นดอกที่มีขนาดเล็กมีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกยาวประมาณ 2 มม.โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อส่วนปลายกลีบก็จะแยกออกกันเป็นแฉกรูป เหลี่ยมดอกเมื่อบานเต็มที่มีขนาดกว้างประมาณ 1.5ซม.
ผล : ผลกระทุงหมาบ้ามีลักษณะเป็นฝัก มีความกว้างประมาณ 16-30 มม. ยาวประมาณ 7.5-10 ซม.เปลือกฝักมีสีเหลือง ข้างในฝักมีเมล็ด เป็นรูปรีกว้าง ยาวราว 1.2 ซม.
การขยายพันธุ์ : กระทุงหมาบ้าเป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นตามบริเวณชายป่า ขยายพันธุ์ด้วยปักชำ
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ ผล ราก เถา
สรรพคุณของสมุนไพร:
ลำต้น ลำต้นกระทุงหมาบ้าแก้โรคตา แก้หวัด ทำให้จาม เป็นสมุนไพรใช้รักษาพิษงูกัด
ใบ แก้แผลที่ถูกน้ำร้อนลวกแก้บวม แก้ฝี วิธีใช้โดยการนำใบสด มาตำให้ละเอียดแล้ใช้ทา
ราก ทำให้อาเจียน ขับพิษร้อน กระทุ้งพิษ พิษฝี พิษไข้หัว ไข้กาฬแก้ปัสสาวะพิการ แก้พิษน้ำดีกำเริบ ช่วยให้นอนหลับ
ผล เป็นยารักษาโรคให้สัตว์
เถา เป็นยาเย็นขับปัสสาวะ
ประโยชน์ด้านอื่น ๆ :
ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน นำมาต้มหรือลวกให้สุกเป็นผักร่วมกับน้ำพริก และนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงกับปลาแห้ง  ผักกระทุงหมาบ้า มีรสขมอมหวานมัน ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกายช่วยเจริญอาหาร
ถิ่นที่อยู่ : กระทุงหมาบ้าเป็นพรรณไม้ที่มีขึ้นตามบริเวณป่าดิบ หรือป่าราบ ทั่วไปในประเทศไทย



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomea quamoclit Limm.
ชื่อสามัญ : Indian Pink  Cypress Vine
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : สนก้างปลา , พันสวรรค์ , เข็มแดง , แข้งสิงห์ , ( กรุงเทพฯ ) , คอนสวรรค์ (เชียงใหม่), สะตอเทศ , ผักหนองบก , ผักก้านถิน , ดาวนายร้อย , รกฟ้า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ต้น : คอนสวรรค์เป็นไม้เถาล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี เมื่อให้ดอกแล้วก็จะแห้งตายไป ลำต้นหรือเถาจะเลื้อยพันกันแน่น และจะต้องมีหลักหรือซุ้ม เพื่อให้เถาคอนสวรรค์เลื้อยพันขึ้นได้ ลำต้นหรือเถาจะมีขนาดเล็กและเรียว ผิวของลำต้นจะเกลี้ยง
ใบ : คอนสวรรค์มีใบเป็นรูปไข่หรือเป็นรูปขอบขนานกัน และมีความกว้างประมาณ 1-6 ซม.ความยาวประมาณ1-9 ซม. ตรงขอบใบจักเป็นแฉกลีกเป็นแบบขนนก ข้างละประมาณ 9-19แฉก แฉกนั้นอาจจะอยู่ ตรงข้ามกันหรือเรียงสบับกันส่วนก้านใบจะยาวประมาณ8-40 มม. ตรงโคนก้านมักจะมีหูใบปลอม
ดอก : คอนสวรรค์ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบจะมีอยู่ประมาณ 2-6 ดอกจะมีก้านช่อดอกยาวประมาณ1.5-14 ซม. ก้านดอกนั้นยาว 5-20 มม. เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองกลีบรองกลีบดอกจะเป็นรูปขอบ ขนานกัน หรือเป็นรูปช้อนแกมขอบขนาน ตรงปลายมนคู่นอกนั้นยาวประมาณ 4-4.5 มม. คู่จะยาว กว่าเล็กน้อย ผิวเกลี้ยง กลีบดอกนั้นจะเชื่อมติดกันเป็นทรงแจกมีความยาวประมาณ 2-3 ซม. ปลายของมันจะแยกออกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก จะมีสีแดง หรือบางทีจะมีสีขาว
เกสร : เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียนั้นจะโผล่พันกลีบดอก ส่วนเกสรตัวผู้จะมีขนอยู่ที่โคน
รังไข่ : รังไข่นั้นจะมีลักษณะผิวเกลี้ยง
เมล็ด (ผล) : ผลเมื่อแห้งจะเป็นรูปไข่มีความยาว ประมาณ 6-8 มม. ส่วนเมล็ดนั้นจะมี 4รูปขอบขนายแกมไข่ มี ความยาวประมาณ 5-6 มม. มีสีน้ำตาลดำ หรือสีดำ
การขยายพันธุ์ : คอนสวรรค์ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น และเมล็ด ใช้เป็นยา
สรรพคุณของสมุนไพร :
ทั้งต้น เป็นยาเย็น ใช้รักษาพิษงูกัด และเป็นยานัตถุ์ ยารุ
ใบ นำมาตำทำเป็นยาพอกริดสีดวงทวารที่มีเลือดออก รักษาสิวหัวช้าง หรือฝีฝักบัว
เมล็ด ใช้เป็นยาระบายและเป็นยาบรรเทาอาการปวดท้อง
ถิ่นที่อยู่ : คอนสวรรค์มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อนและได้กระจายแพร่พันธุ์เอง ตามป่าละเมาะหรือ ตามที่รกร้างว่างเปล่า ตามไร่ ตามนา ขึ้นในระดับสูงประมาณ 1,200 ม. มักนิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับ



ชื่ออื่น ๆ : อุตพิต, มะโหรา (จันทบุรี) , บอนแก้ว (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Typhonium trilobatum Schott.
วงศ์ : ARACEAE
ลักษณะทั่วไป :
ต้น : อุตพิตเป็นสมุนไพรไม้ล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน หัวจะเล็กเป็นรูปเกือบจะกลม วัดผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1.2 ซม.
ใบ : จะมีลักษณะเป็นแฉกกลางรูปไข่ปลายแหลม ใบเป็นสีเขียวมีลาย หรือจุดประสีม่วง ก้านใบมีความยาวประมาณ 37.5 ซม. ใบจะเป็นหยัก 3 แฉก มีความกว้างและยาวประมาณ 25-30 ซม.
ดอก : อุตพิตจะออกเป็นช่อ เป็นแท่งยาว ช่อดอกมีกาบหุ้มยาวประมาณ 23 ซม. กาบจะกว้างประมาณ 7.5 ซม. ก้านช่อดอกจะเป็นสีเลือดนกปนน้ำตาล หรือสีแดงเข้ม ดอกเพศเมียจะอยู่ตรงโคนแท่ง เหนืออกเพศเมียจะเป็นดอกฝ่อ เป็นสีขาวถัดไปเป็นที่ว่าง เหนือที่ว่างนั้นจะเป็นดอกเพศผู้เป็นสีชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีกลิ่นเหม็น
ผล : ผลสดจะมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ภายในจะมีเมล็ดอยู่
การขยายพันธุ์ : โดยการแยกหน่อ
ส่วนที่ใช้ : หัว กาบ ก้านใบ และรากของอุตพิตใช้เป็นยาสมุนไพร
สรรพคุณ :
หัว: ใช้เป็นยาสมุนไพรกัดเถาดานในท้อง กัดฝ้าหนองสมานแผลหรือใช้หุงเป็นน้ำมันใส่แผล และใช้ปิ้งไฟใช้กินได้
กาบ: นำไปหั่นให้ละเอียด ใช้ดองกินเป็นอาหารผักได้
ก้านใบ: ลอกเปลือกออกใช้แกงส้มแบบเดียวกับแกงบอนได้
ราก: จะมีฤทธิ์เป็นยากระตุ้น รักษาโรคริดสีดวงทวาร ใช้กินกับกล้วยรักษาโรคปวดท้อง หรือใช้ทาภายนอกและกินรักษาพิษงูกัดได้
ถิ่นที่อยู่ : อุตพิตมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน ของทวีปเอเชีย มักพบขึ้นทั่ว ๆ ไป ตามที่ร่มเย็น


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น